หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เยาวชนไทย ไม่ไร้มารยาท

เยาวชนชายไทย หัวใจสุภาพบุรุษ เยาวชนสตรีไทยให้รักนวลสงวนตัว

รณรงค์ยาเสพติด


มรดกโลก

                  มรดกโลก
           "มรดกโลก" (World Heritage Site) คือสถานที่อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้าง และเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ตั้งแต่พ.ศ.2515 เพื่อบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติสร้างขึ้นมา และควรปกป้องสิ่งเหล่านั้นอย่างไรเพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ปัจจุบันมีมรดกโลก 890 แห่ง ใน 138 ประเทศ แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 689 แห่ง ทางธรรมชาติ 176 แห่ง และ 25 แห่งเป็นแบบผสม โดยแบ่งเป็น 5 พื้นที่ คือ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป-อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้-แคริบเบียน (มรดกโลกในตุรกีและรัสเซีย นับเป็นทวีปยุโรป)

         ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน เรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น ทั้งนี้ สถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ เลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการออกมาจัดทำแฟ้มข้อมูล ซึ่งจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากสภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี และสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ แล้วทั้งสององค์กรจะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลกที่จะประชุมปีละ 1 ครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก



ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก


หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม 
  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
    หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ
  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่


ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์  (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ



มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีไว้แล้ว
เว็บไซต์ทางการยูเนสโก ระบุผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2554 ซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ และแบบผสม จำนวน 25 แห่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งทางวัฒนธรรม 21 แห่ง แหล่งทางธรรมชาติ 3 แห่ง และแบบผสม 1 แห่ง ทำให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกโลกที่มีการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด 936 แห่ง เป็นวัฒนธรรม 725 แห่ง ธรรมชาติ 183 แห่ง แบบผสม 28 แห่ง

สำหรับมรดกโลกปี 2554 ทางวัฒนธรรม ได้แก่

 โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
 ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
 พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โรงงาน Fagus เยอรมนี
สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 - 19 บาเบร์ดอส
 Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
 เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
 นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
 สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
 ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
 วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
 Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
 มอมบาซา เคนยา
 คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
 ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
 ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
 อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารากัว
 สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน และ
. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย


ส่วนแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่ นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน






มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก


อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ไทยที่ตั้งอยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา รับพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2534 มีโบราณสถานกระจัดกระจายอยู่ไม่ต่ำกว่า 200 แห่ง
                             

แหล่งมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์นี้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ ปี พ.ศ.2534
                                          

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ลงทะเบียนของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอของ 3 จังหวัด ได้แก่ อ.บ้านไร่ อ.ลานสัก อ.ห้วยคต จ.อุทัยธานี อ.สังขละบุรี อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และ อ.อุ้มผาง จ.ตาก มีพื้นที่ 4,046,747 ไร่ หรือ 6,427 ตารางกิโลเมตร
                                 
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง บ้านเชียง จ.อุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน
                                 

มรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่ง ที่ 5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ วันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ.2548

                      

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก

การที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส ได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อบทแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการประมวลไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ มีผลบังคับกับรัฐที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีกว่าร้อยประเทศ และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นข้อบทที่เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี และในทางปฏิบัติของอารยะรัฐแล้วเกือบทั้งหมด จึงมีผลบังคับในทางปฏิบัติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเป็นภาคีและไม่เป็นภาคีโดยสมบูรณ์แบบตามอนุสัญญากรุงเวียนนา
ในสาระสำคัญนั้น อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ มีข้อบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิกถอน หรือถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ตามข้อ ๓๕ วรรค ๑ ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้แทนไทยหรือหัวหน้าคณะผู้แทนไทยมีสิทธิอำนาจในการถอนตัวตามอนุสัญญาหรือไม่เพียงใด
ปัญหาซึ่งอาจตามมาคือ การถอนตัวหรือเพิกถอนการเป็นภาคี หรือสมาชิกสภาพของรัฐภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก และอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฏหมายเมื่อใดหรือภายใต้เงื่อนไขประการใด การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันทีที่ได้แสดงออก แต่ผลทางกฎหมายนั้น สมาชิกภาพของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเป็นเช่นเดิมต่อไปอีก ๑๒ เดือน หากจะพิจารณาในแง่อนุสัญญาพหุภาคีแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการประกาศให้ภาคีอนุสัญญาอื่น ๆ ได้รับทราบ และคณะกรรมการมรดกโลกเองจะได้ปรับสถานภาพเกี่ยวกับสิทธิ และภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับคณะกรรมการและภาคีสมาชิกอื่น ๆ เพราะการถอนตัวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอื่นด้วย ฉะนั้น การให้โอกาสสมาชิกอื่นทราบเพื่อปรับตัวหรือตั้งข้อสังเกต ทัดทาน เห็นชอบ โต้แย้ง หรือตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลกระทบ เป็นสิ่งที่สังคมประชาคมและประชาชาติยอมรับเป็นทางปฏิบัติระหว่างอารยะประเทศ
เหตุผลที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้อรรถาธิบายไว้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแพร่หลายทั่วไปในด้านความชัดเจน แต่ในแง่ของการเมืองภายในประเทศ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนสโก
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของยูเนสโกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความเพื่อขยายผลคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งไทยไม่เห็นด้วยและคัดค้านมาโดยตลอด คำพิพากษาดังกล่าวประกอบด้วยคำพิพากษาหลัก และคำพิพากษาแย้งในสาระสำคัญของผู้พิพากษาถึงสามท่าน รวมทั้งคำพิพากษาเอกเทศของผู้พิพากษาอีก ๑ ท่าน ที่ไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ถึงนายอูถั่น ผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบโดยทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก เพราะขัดต่อสนธิสัญญา ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขัดต่อหลักความยุติธรรม พร้อมกับมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่หก (กฎหมาย) แถลงเพิ่มเติม ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ ๑๗ ค.ศ. ๑๙๖๒ คำแถลงดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๔๐ หน้ากระดาษ เป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามทำหน้าที่แปลเป็นภาษาทำงานทางการของสหประชาชาติทุกภาษา ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนประเทศอื่นใดรวมทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ตั้งข้อสังเกตหรือโต้แย้งแต่ประการใด
แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ไร้ความยุติธรรม ไทยก็ได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างครบถ้วน แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ธรรมนูญข้อ ๕๙ ของศาลฯ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลบังคับนอกจากประเทศคู่กรณี และจำกัดเฉพาะในกรณีพิพาทนั้นเท่านั้น ไม่ผูกพันประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ หรือในข้อพิพาทอื่นใด จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ประการใด ฉะนั้น การขยายความเกินเลยขอบเขตคำพิพากษาเดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนย่อมไม่สามารถทำได้ ไทยจึงสมควรลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกโดยด่วน มิฉะนั้น จะเป็นการยอมรับพันธะกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของยูเนสโก อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติ
การถอนตัวจากอนุสัญญาสากลนั้น ความจริงเป็นอำนาจสิทธิขาดของรัฐภาคี โดยผ่านตัวแทนหรือคณะผู้แทนของรัฐภาคี โดยแถลงในที่ประชุมหรือยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลไทยใช้ประกอบการถอนตัวหรือความตื้นลึกหนาบางที่จะแถลงให้ประชาชนทราบเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลไทย
โดยที่ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่คดีประสาทพระวิหารกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงยังเป็นสาระที่มีสถานะเป็นปัญหา “sub judice” ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงมิบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือแม้แต่ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ จะลงความเห็นหรือวิพากวิจารณ์ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาสิ้นเสร็จเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการลงความเห็นก่อนกาลเป็นการสุ่มเสี่ยงในการหมิ่นอำนาจศาล หรือละเมิดจริยธรรมของนักกฎหมายระหว่างประเทศ นักนิติศาสตร์ผู้คุ้นเคยกับจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติ ย่อมต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของวงการอย่างเคร่งครัด
ข้าพเจ้าจึงขอเรียนชี้แจงในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติถึงสองสมัยเป็นเวลา ๑๐ ปี เป็นผู้เสนอรายงานพิเศษ และประธานคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาร่างอนุสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อบทอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ